FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

16 พ.ค. 2025

กลยุทธ์

เทรดตามแนวโน้ม vs. เทรดสวนแนวโน้ม

เทรดตามแนวโน้ม vs. เทรดสวนแนวโน้ม

หนึ่งในหลักการของการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ ราคามักเคลื่อนไหวเป็นแนวโน้ม ทุกแนวโน้มประกอบด้วยช่วงเวลาที่ราคาขยับไปในทิศทางของแนวโน้มนั้น และช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เกิดการปรับฐานสวนทางกับแนวโน้มหลัก

กลยุทธ์การเทรดตามแนวโน้ม (Trend-following) หมายถึง การที่เทรดเดอร์เปิดสถานะไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มหลัก กล่าวคือ ซื้อเมื่อเกิดแนวโน้มขาขึ้น และขายเมื่อเกิดแนวโน้มขาลง เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเข้าสู่ตลาดตามวิธีนี้คือช่วงที่การปรับฐานสิ้นสุดลง และแนวโน้มหลักเริ่มกลับมาดำเนินต่ออีกครั้ง คำกล่าวที่ว่า "ซื้อถูก ขายแพง" จึงเป็นเหมือนคติประจำใจของเทรดเดอร์เลยล่ะ

ในทางกลับกัน เทรดเดอร์ที่เทรดสวนแนวโน้ม (Countertrend) จะไม่รอให้การปรับฐานสิ้นสุดลง หากตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น พวกเขาอาจเลือกขายเมื่อราคากลับตัวจากแนวต้าน และตั้งเป้าทำกำไรใกล้แนวรับ เหตุผลคือพวกเขาเชื่อว่าราคาขึ้นมาไกลเกินไปแล้ว และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงอย่างน้อยในระยะสั้น

กลยุทธ์ทั้งสองแบบนี้มีความเสี่ยงที่คล้ายกันหรือไม่? และแบบใดให้อัตราผลตอบแทนที่มากกว่าสำหรับเทรดเดอร์? เราจะมาหาคำตอบกันในส่วนถัดไป

การเทรดตามแนวโน้ม

การเทรดตามแนวโน้ม (Trend Trading) คือความพยายามในการทำกำไรจากการวิเคราะห์แรงส่ง (Momentum) ของสินทรัพย์ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เมื่อราคาขยับไปในทิศทางเดียวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นขึ้นหรือลง เราเรียกสิ่งนั้นว่า “แนวโน้ม” (Trend)

เทรดเดอร์ที่เทรดตามแนวโน้ม (Trend Traders) มักเปิดสถานะซื้อ (Long) เมื่อสินทรัพย์อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยแนวโน้มขาขึ้นจะมีลักษณะเด่นคือ “จุดต่ำสุดที่สูงขึ้น” (Higher Lows) และ “จุดสูงสุดที่สูงขึ้น” (Higher Highs) ในทำนองเดียวกัน หากสินทรัพย์อยู่ในแนวโน้มขาลง เทรดเดอร์ก็สามารถเปิดสถานะขาย (Short) ได้ โดยแนวโน้มขาลงจะมีลักษณะคือ “จุดต่ำสุดที่ต่ำลง” (Lower Lows) และ “จุดสูงสุดที่ต่ำลง” (Lower Highs)

กลยุทธ์การเทรดตามแนวโน้มตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสินทรัพย์จะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางเดิม กลยุทธ์เหล่านี้มักมีการกำหนดจุดทำกำไร (Take Profit) และจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อรักษากำไรหรือป้องกันการขาดทุนหนักในกรณีที่แนวโน้มกลับตัว การเทรดตามแนวโน้มสามารถใช้ได้ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่สามารถระบุแนวโน้มในปัจจุบันได้ แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการตัดสินใจว่าจะจัดการกับแนวโน้มนั้นอย่างไร ขอยกตัวอย่างในกรณีของแนวโน้มขาขึ้น กลยุทธ์เทรดตามแนวโน้มจะบ่งชี้ว่าคุณควร “ซื้อที่แนวรับ” หรือ “ซื้อเมื่อราคาทะลุแนวต้าน” ในกรณีแรก คุณสามารถใช้เครื่องมืออย่างเส้นแนวโน้มหรือการวัดระดับ Fibonacci Retracement เพื่อหาแนวรับ ในกรณีที่สอง คุณสามารถใช้รูปแบบกราฟที่บ่งบอกถึงการต่อเนื่องของแนวโน้ม เช่น สามเหลี่ยม (Triangles), ธง (Flags), และลิ่ม (Wedges)

image_1.jpg

บางคนเลือกเข้าซื้อที่จุดที่ 1 (ซึ่งเป็นแนวรับจากเส้นแนวโน้มและระดับ Fibonacci retracement), หรือจุดที่ 2 (บริเวณที่เกิดรูปแบบธง – Flag pattern), และบางคนอาจรอถึงจุดที่ 3 (เมื่อราคาทะลุจุดสูงสุดก่อนหน้า) แน่นอนว่า ยิ่งคุณสามารถซื้อได้ในราคาที่ต่ำเท่าไร โอกาสในการทำกำไรก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

การตั้งจุดทำกำไร (Take Profit)

คุณสามารถตั้งเป้าหมายทำกำไรไว้ที่จุดสูงสุดก่อนหน้าของแนวโน้มขาขึ้น (หรือจุดต่ำสุดก่อนหน้าของแนวโน้มขาลง) หรือหากคุณมีความมั่นใจมากพอ ก็สามารถตั้งเป้าไว้เหนือกว่านั้นได้เช่นกัน

การตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop Loss)

เมื่อคุณเทรดตามแนวโน้ม คุณสามารถใช้ “Trailing Stop” หรือจุดตัดขาดทุนแบบเลื่อนตามแนวโน้มได้ อย่างไรก็ตาม ควรระวังว่าการตัดสินใจเลื่อนจุด Stop Loss ไม่ใช่เรื่องง่าย ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นคือ หากเกิดการปรับฐานลึกกว่าปกติ อาจทำให้ราคามาชนจุดตัดขาดทุนของคุณและปิดสถานะไป

การเปิดสถานะเพิ่ม (Scaling in)

คุณสามารถเปิดสถานะเพิ่มได้ หากราคาขยับไปในทิศทางที่คุณต้องการไว้ และสถานะนั้นเริ่มมีกำไรแล้ว วิธีนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของคุณ แต่หากเลือกใช้กลยุทธ์นี้ อย่าลืมปรับการบริหารความเสี่ยงของคุณด้วยเช่นกัน อีกแนวทางหนึ่งคือเริ่มต้นด้วยขนาดการซื้อในขนาดที่เล็กกว่าปกติ (เช่น ซื้อที่จุดที่ 1) และค่อยเพิ่มสถานะเมื่อราคาทะลุจุดที่ 2 กลยุทธ์นี้จะช่วยลดความเสี่ยงของคุณได้

การเทรดสวนแนวโน้ม

แนวโน้มสวนทาง (Countertrend) คือการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นการปรับฐานสวนทางกับแนวโน้มหลัก พูดง่าย ๆ คือ เมื่อราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แล้วเกิดการย่อตัวลง การย่อตัวนี้ถือเป็นแนวโน้มสวนทาง เพราะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับแนวโน้มหลักของตลาด

กลยุทธ์การเทรดสวนแนวโน้ม คือความพยายามในการทำกำไรเล็กน้อยจากการเปิดสถานะที่ตรงข้ามกับแนวโน้มหลัก กลยุทธ์นี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเทรดแบบสวิง (Swing Trading) ที่ตั้งอยู่บนแนวคิดว่าแนวโน้มหลักมักจะมีการย่อตัวหรือกลับทิศชั่วคราว และเทรดเดอร์จะใช้โอกาสจากการย่อตัวนั้นเพื่อทำกำไร ก่อนที่แนวโน้มหลักจะกลับมาเคลื่อนไหวต่อ กลยุทธ์นี้มักใช้ในระยะกลาง โดยถือสถานะเป็นระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์

เทรดเดอร์บางรายที่ใช้กลยุทธ์นี้ จะทำกำไรจากการย่อตัวของราคา ในขณะที่ยังคงถือสถานะหลักไปตามแนวโน้มเดิมอยู่ กลยุทธ์แบบสวนแนวโน้มจะพึ่งพาเครื่องมือ เช่น อินดิเคเตอร์วัดโมเมนตัม, แนวรับแนวต้าน และรูปแบบแท่งเทียน เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้กลยุทธ์นี้ต้องพร้อมรับมือกับการกลับตัวของแนวโน้มหลักที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้นจึงควรใช้เทคนิคบริหารความเสี่ยง เช่น การตั้ง Stop Loss และการจำกัดขนาดสถานะ เพื่อควบคุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

เทรดเดอร์ที่ใช้แนวทางนี้มักใช้สัญญาณจากรูปแบบแท่งเทียนกลับตัว (Pin Bar, Evening Star, Morning Star ฯลฯ) รวมถึงใช้อินดิเคเตอร์แบบออสซิลเลเตอร์ เช่น MACD หรือ RSI เพื่อดูว่าตลาดอยู่ในภาวะซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไปหรือไม่ และมีภาวะ “Divergence” ระหว่างราคาและอินดิเคเตอร์หรือไม่ หากมีสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้น เทรดเดอร์อาจเปิดสถานะสวนแนวโน้มก่อนหน้าได้

image_2.jpg

เทรดเดอร์อาจตัดสินใจขายที่จุดที่ 1 เนื่องจากราคาเกิดแท่งเทียนที่มีไส้เทียนด้านบนยาว (เป็นสัญญาณเชิงลบ) และอินดิเคเตอร์ MACD ไม่ยืนยันจุดสูงสุดของราคา

การตั้งจุดทำกำไร (Take Profit)

การตั้งจุดทำกำไรในการเทรดสวนแนวโน้มจะยากกว่าการเทรดตามแนวโน้ม ความท้าทายคือต้องอย่าโลภจนเกินไป จำไว้ให้ดีว่าคุณกำลังเดิมพันสวนทางกับตลาด แนวโน้มบางแบบอาจกลายเป็นการแกว่งตัวในกรอบ (Sideways) ซึ่งจำกัดโอกาสทำกำไรจากสถานะที่เทรดสวนแนวโน้ม แบะแนวโน้มหลักอาจกลับมาเร็วและไม่เปิดโอกาสให้ราคาปรับฐานมากนัก คุณจึงควรระมัดระวังและบริหารความเสี่ยงให้ดี

การตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop Loss)

การวางคำสั่ง Stop Loss ในการเทรดสวนแนวโน้มถือเป็นเรื่องปกติ เทรดเดอร์จะตั้ง Stop Loss ไว้ไว้เหนือหรือใต้จุดสูงสุด/ต่ำสุดของราคาที่เริ่มมีการปรับฐาน จุด Stop Loss มักจะมีขนาดเล็กกว่าที่ใช้ในกลยุทธ์ตามแนวโน้ม

การเปิดสถานะเพิ่ม (Scaling in)

ไม่แนะนำให้เพิ่มขนาดสถานะเมื่อคุณกำลังเทรดสวนแนวโน้ม เนื่องจากการเทรดอาจเป็นระยะสั้นมาก และอาจทำให้คุณตกอยู่ในสถานะที่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น หากคุณพยายามเพิ่มคำสั่งซื้อขายเข้าไป ที่สำคัญคือ ห้ามเพิ่มสถานะในขณะที่คุณขาดทุน เพราะจะยิ่งเพิ่มโอกาสขาดทุนมากขึ้นเท่านั้น

ในวิดีโอใหม่ของเรา เราจะพูดถึงการเทรดตามแนวโน้มและการเทรดสวนแนวโน้มอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

สรุป

การเทรดทั้งแบบตามแนวโน้มและสวนแนวโน้มต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัว และสามารถสร้างสัญญาณการเทรดที่ดีได้ทั้งคู่ แต่แต่ละแบบต้องมีกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สิ่งที่เทรดเดอร์หลายคนเห็นตรงกันคือ การเทรดสวนแนวโน้มต้องใช้ประสบการณ์สูงกว่า ดังนั้น มือใหม่ควรเริ่มต้นจากการเทรดตามแนวโน้มก่อน ฝึกเทรดต่อไปและดูว่าวิธีไหนเหมาะกับคุณ

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น